โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)

    มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทาน...แนวทางการอนุรักษ์และ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2559 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมสานักงาน อธิการบดี ชั้น 5 อาคารสานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเปิดงานโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่าย และการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน อาทิ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ ร่วมด้วย คณะวิทยากรอีก หลายท่าน
    อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ กล่าวว่า “การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ อยู่ภายใต้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งสืบเนื่องจากที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับพระราชทานกล้วยไม้ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-ราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จาเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้เข้ารับพระราชทาน เป็นจานวน 127 สกุล (genus) 810 ชนิด(species) เพื่อมาดาเนินงานสนองตามพระราชดาริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ผ่านรูปแบบกิจกรรม จานวน 8 กิจกรรม ได้แก่ การจัดทาข้อมูลพื้นฐานของกล้วยไม้ตามบัญชีทะเบียน การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ไทยแท้เพื่อการอนุรักษ์ ศึกษาการขยายพันธุ์และการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ การบริหารจัดการสวนแหล่งรวบรวมกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทาน การจัดสร้างแหล่งรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทานภายใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ และ กิจกรรมที่ 8 คือการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ผลการดาเนินงานและ เพื่อการพัฒนาต่อยอดหัวข้อวิจัยและการบริการวิชาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ที่สนใจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ตามแนวนโยบายและ วัตถุประสงค์ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ต่อไป”

ปรับปรุงข้อมูล : 20/9/2563 19:14:59     ที่มา : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 290

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับพระราชทานรางวัลหนังสือดีเด่น (รางวัลชมเชยประเภทสารคดี) งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52
วันที่ 28 มีนาคม 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับรางวัลชมเชย "หนังสือสารคดีด้านด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ" การประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 และ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้ร่วมเข้ารับพระราชทานรางวัลหนังสือดีเด่น (รางวัลชมเชยประเภทสารคดี) จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยหนังสือเรื่อง "เครื่องเคลือบดินเผาประดับ ในศิลปกรรมล้านนา" เป็นหนึ่งในงานวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)ประพันธ์โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยาจัดพิมพ์โดย : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ. สธ.-มจ.)
4 เมษายน 2567     |      79
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2567
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2567 หลักสูตรการบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2 และงานที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย ผศ.ชลดรงค์ ทองสง ผู้อำนวยการหน่วยประสานงานฯ กล่าวรายงานแก่ ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงานฯ ประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก คุณนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม และได้รับเกียรติจาก คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และ วิทยากรจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 ท่าน
26 มีนาคม 2567     |      51
การประชุมเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ปี พ.ศ.2568
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการประชุมเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ปี พ.ศ.2568 โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 มีนาคม 2567     |      73
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 19-20 มีนาคม พ.ศ.2567 ที่ผานมา เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร “การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสงหัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุม มีผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรเข้าร่วมกว่า 120 คน พร้อมกันนี้ นายชาญณรงค์ ปานเลิศ รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร นายเสรี พรหมฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และนางศรีแพ ไกยเทียม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ได้กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประชุมโดยช่วงเช้า ผู้เข้าประชุม รับฟังการบรรยาย “การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน” โดยทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และในช่วงบ่าย ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มและปฎิบัติการกลุ่ม 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ ฐานการเรียนรู้ที่ 1 :การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ฐานการเรียนรู้ที่ 2 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมส่งเสริมสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตรงตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
19 มีนาคม 2567     |      58