|
สรุปผลการดำเนินงาน 2 ทศวรรษ ผลงานในช่วง 5 ปีแรก คือ การอนุรักษ์และพัฒนาด้วยจิตสำนึก โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้เน้นผลงานวิจัยการฟื้นฟูป่าและวิธีการแก้ไขให้ป่าฟื้นคืนสภาพ จากทฤษฎีการปลูกป่าตามแนวพระราชดำริฯ บนพื้นฐานของการทำงานอย่างบูรณาการ โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาร่วมกันทำงานวิจัยและช่วยแนะนำชาวบ้านในท้องถิ่น ให้รู้ถึงคุณค่าของป่าและให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศให้แก่ราษฎรอีกด้วย ผลงานวิจัยที่เห็นประจักษ์ในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาด้วยจิตสำนึก มีหลากหลายโครงการ ตัวอย่างเช่น เรื่องการฟื้นฟูป่าและวิธีแก้ไข ให้ฟื้นคืนสภาพ จากทฤษฎีการปลูกป่าตามแนว พระราชดำริ ผลการศึกษาคุณสมบัติของดิน การแบ่งเขตและการจัดพื้นที่โดยใช้ระบบ GIS งานอาสาสมัครปกปักพันธุกรรมพืช กิจกรรมของนักศึกษาที่เข้าไปเรียนรู้ในพื้นที่โครงการจากหลากหลายสาขาวิชา ศูนย์วิจัยและเรียนรู้ เรื่องมะขามป้อมและมะเกี๋ยง และหมู่บ้าน Future Farmer of Thailand มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ และโครงการพัฒนาฐานการเรียนรู้ด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร เป็นต้น ผลงานในช่วง 5 ปีที่สอง คือ ธรรมชาติแห่งชีวิต เน้นผลงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ในเชิงลึก นำเสนอความรู้ วงชีวิต ประโยชน์ ตลอดจนเสน่ห์ความงามของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงคุณค่า ของธรรมชาติแห่งชีวิตอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น เรื่องการศึกษาความหลากหลายของพรรณพืช การศึกษาความหลากหลายของละอองเรณู การปลูกรวบรวมและใช้ประโยชน์ชนิดพันธุ์ชาน้ำมัน การสำรวจปลูกรวบรวมและใช้ประโยชน์จากไม้ผลเศษฐกิจ ได้แก่ พันธุ์ลำไย ลิ้นจี่ และน้อยหน่า การศึกษาความหลากหลายของผึ้งชันโรงและพืชอาหาร และการศึกษาความหลากหลายชนิดของนกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์บ้านโปง เป็นต้น ผลงานในช่วง 5 ปีที่สามและสี่ คือ สรรพสิ่งล้วนเกี่ยวพัน ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย และประโยชน์แท้แก่มหาชน เป็นผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการประยุกต์ผลงานวิจัยและภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวบ้านและชุมชน ซึ่งการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชนั้น เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ๆ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ให้ความสำคัญในประเด็นนี้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ได้นำเชื้อพันธุกรรมพืชที่อยู่ในโครงการฯ มาบูรณาการสู่การเรียนการสอนและการวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชตัวอย่างเช่น แตงไทย พริก มะเขือ ถั่วพู และไพล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน และการใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืช เช่น การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวบ้านโปง การอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน การพัฒนาพันธุ์ฝางและรักหลวง การคัดเลือกจุลินทรีย์จากป่าบ้านโปงเพื่อผลิตเอนไซม์สำหรับอาหารสัตว์ การ ผลิตภัณฑ์หอมระเหยจากฝาง การศึกษาสารออกฤทธิ์สารสกัดจากบัวบกและไพล และการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสารสกัดจากบัวบกและไพล เป็นต้น จากผลงานตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้สั่งสมองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ และมีความพร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านทรัพยากรพันธุกรรมที่มีชีวิต เป็นแหล่งรวบรวมและศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืชหายากภาคเหนือและในบริเวณอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงภายในปี 2559 เพื่อการ ก้าวสู่ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ นำสิ่งดีงามสู่ตาโลก ดั่งวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ว่า...เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ
|
|
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ งาน อพ.สธ.-แม่โจ้ ภูมิปัญญาเกษตรแห่งแผ่นดิน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2555 |
|
อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ |
|
แผนที่แสดงพื้นที่ดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ |