โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และองค์การบริการส่วนตำบลกึ้ดช้าง ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)

กิจกรรม ประกอบด้วย

  1. การบรรยาย : งานที่ 2 งานสํารวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. มีเนื้อหา :
        1.1. เก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น
        1.2. เก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น
        1.3. เก็บข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น
        1.4. เก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
        1.5. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น
        1.6. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสัตว์ในท้องถิ่น
        1.7. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของชีวภาพอื่น ๆ ในท้องถิ่น
        1.8. เก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น
        1.9. เก็บข้อมูลแหล่งทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น
        1.10. จัดทํารายงานผลการสํารวจและจัดทําฐานทรัพยากรท้องถิ่น
  2. การบรรยายและปฏิบัติการ : ใบงานที่ 1 - ใบงานที่ 4 โดย ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย ,ผศ.ดร.กมลพร ปานง่อม และนายกิติพงษ์ วุฒิญาณ
  3. การนําเสนอผลงานกลุ่มและให้ข้อเสนอแนะ โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. และคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ.
  4. การบรรยายและปฏิบัติการ : ใบงานที่ 5 (บันทึก ต้นไม้ กลุ่มละ 1 ต้น) โดย ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย
  5. การบรรยายและปฏิบัติการ : ใบงานที่ 6 (บันทึก สัตว์ กลุ่มละ 1 ชนิด) (บันทึกสัตว์กลุ่มละ 1 ชนิด) โดย ผศ .ดร.วรศิลป์ มาลัยทอง
  6. การบรรยายและปฏิบัติการ :ใบงานที่ 7 (บันทึกชีวภาพอื่น ๆ กลุ่มละ 1 ชนิด) (เห็ด รา ไลเคน) โดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
  7. การบรรยายและปฏิบัติการ : ใบงานที่ 8 บันทึกภูมิปัญญา และใบงานที่ 9 บันทึก โบราณสถาน/โบราณวัตถุ กลุ่มละ 1 ภูมิปัญญา/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ โดย นางจีราพรรณ จันทร์หอม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และนางสาวธัญธิตา สุทธิกุลบุตร ครูชำนาญการ (ค.ศ.2) โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 79 ท่าน จาก 42 หน่วยงาน
ปรับปรุงข้อมูล : 6/2/2566 13:58:25     ที่มา : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 447

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ครั้งที่ 2/2567
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ครั้งที่ 2/2567 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานการประชุม อีกทั้งได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. ในการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
1 พฤศจิกายน 2567     |      40
ศูนยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมงาน MJU THANK YOU PRESS PARTY 2024 สานสัมพันธ์ชาวแม่โจ้ – สื่อมวลชน
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมงาน MJU THANK YOU PRESS PARTY 2024 สานสัมพันธ์ชาวแม่โจ้ – สื่อมวลชน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงาน MJU Thank you Press Party 2024 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยพบปะและขอบคุณสื่อมวลชน ประจำปี 2567 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ชาวแม่โจ้ - พี่น้องสื่อมวลชน และในโอกาสนี้ได้ประชาสัมพันธ์งานในปีพุทธศักราช 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ด้วยแนวคิด ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ซึ่งจะมีโรงเรียนและสถาบันการศึกษาในสังกัดทั่วประเทศเข้าร่วม ในวันนี้จึงได้นำผลงานส่วนหนึ่งของโครงการมานำเสนอให้แก่คณะสื่อมวลชนได้รับทราบและเตรียมเผยแพร่ข่าวกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไป
24 กันยายน 2567     |      7433
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมปลูกต้นพลองใหญ่ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
เมื่อวันที่ 6 กันยายน ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวงรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และดร.ฐิระ ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมปลูกต้นไม้พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานต้นพลองใหญ่ ให้แก่จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการ “พระราชทานต้นพลองใหญ่คืนสู่ถิ่นกำเนิด” เพื่อเป็นการ สืบสาน รักษา และต่อยอด จากต้นพลองใหญ่ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงปลูก ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2535 (ต้นไม้ทรงโปรด)โดยปลูกต้นพลองใหญ่ในบริเวณเดียวกับการปลูกต้นรวงผึ้ง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567 อีกทั้งยังเป็นงานสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) อย่างไรก็ดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะได้มีการศึกษาการใช้ประโยชน์จากต้นพลองใหญ่ต่อไป ณ แปลงปลูกอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
10 กันยายน 2567     |      145