โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2567
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2567 หลักสูตรการบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2 และงานที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย ผศ.ชลดรงค์ ทองสง ผู้อำนวยการหน่วยประสานงานฯ กล่าวรายงานแก่ ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงานฯ ประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก คุณนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม และได้รับเกียรติจาก คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และ วิทยากรจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 ท่าน
26 มีนาคม 2567     |      13
การประชุมเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ปี พ.ศ.2568
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการประชุมเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ปี พ.ศ.2568 โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 มีนาคม 2567     |      27
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 19-20 มีนาคม พ.ศ.2567 ที่ผานมา เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอด ศุภอุดมฤกษ์ อาจารย์ ดร.ฐิระ ทองเหลือ รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร (คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ครั้งที่ 1/2567 หลักสูตร “การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลดรงค์ ทองสงหัวหน้าโครงการหน่วยประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร กล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุม มีผู้บริหาร คณะครู โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรเข้าร่วมกว่า 120 คน พร้อมกันนี้ นายชาญณรงค์ ปานเลิศ รองศึกษาธิการจังหวัดชุมพร นายเสรี พรหมฤทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และนางศรีแพ ไกยเทียม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 2 ได้กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประชุมโดยช่วงเช้า ผู้เข้าประชุม รับฟังการบรรยาย “การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนายมรกต วัชระมุสิก เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สำนักพระราชวัง สวนจิตรลดา และรับฟังการบรรยาย “ภาพรวมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน” โดยทีมวิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และในช่วงบ่าย ผู้เข้าประชุมได้แบ่งกลุ่มและปฎิบัติการกลุ่ม 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ ฐานการเรียนรู้ที่ 1 :การบริหารและการจัดการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ฐานการเรียนรู้ที่ 2 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ ฐานการเรียนรู้ที่ 3 : องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ ฐานการเรียนรู้ที่ 4 : องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพันธุ์ไม้เข้าปลูกในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมส่งเสริมสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตรงตามปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาตน องค์กร สังคม ประเทศชาติต่อไป
19 มีนาคม 2567     |      32
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรการบริหารและการจัดการ งานที่ 1 2 และ 3 ครั้งที่ 1/2567
วันที่ 5 - 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรการบริหารและการจัดการ งานที่ 1 2 และ 3 ครั้งที่ 1/2567 ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 40 ท่าน จาก 15 หน่วยงาน
7 มีนาคม 2567     |      271
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ. ได้ให้ความอนุเคราะห์ มอบหนังสือแก่หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน สํานักงานใหญ่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประจำประเทศไทย
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. มอบหมายให้ นางสาวพีรดา แก้วทองประคำ เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานฯ ได้ให้ความอนุเคราะห์ มอบหนังสือเครื่องเคลือบดินเผาประดับในศิลปกรรมล้านนา จำนวน 2 เล่ม, หนังสือปูรณฆฏะหม้อดอกในวัฒนธรรมล้านนา จำนวน 2 เล่ม และหนังสือพรรณพฤกษาล้านนาจากพันธุกรรมพืชสู่ลวดลายในศิลปกรรม จำนวน 2 เล่ม ซึ่งเป็นผลงานของ ผศ. ฐาปกรณ์ เครือระยา นักวิจัยภายใต้โครงการ อพ.สธ.-มจ. ให้แก่คุณกิตติพงษ์ สุ่นประเสริฐ ผู้แทนสํานักงานหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน สํานักงานใหญ่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประจําประเทศไทย
5 มีนาคม 2567     |      41
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. ปี พ.ศ. 2568
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การเตรียมความพร้อมการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. ปี พ.ศ. 2568 โดยได้รับเกียรติจากดร. ปิยรัษฏ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. , ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี, รศ.ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, ผศ.ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ฝ่ายบริหาร และผศ.ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 7 ท่าน
28 กุมภาพันธ์ 2567     |      50
หน่วยประสานงานอพ.สธ.- มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร วิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่ 1/2567 จัดโดย ศูนย์ประสานงานอพ.สธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
เมื่อวันที่ 23 - 26 มกราคม พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา นายชัยวิชิต เพชรศิลา นักวิชาการเกษตร เข้าร่วมการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร วิทยากรผู้ช่วย รุ่นที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดฝึกอบรมวิทยากรในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ. ตามกรอบนโยบายในการช่วยสนับสนุน อพ.สธ. สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงาน และขยายผลในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรต่อไป การฝึกอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากศูนย์แม่ข่ายฯ และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. จำนวน 26 ศูนย์ฯ จากทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 69 คน
15 กุมภาพันธ์ 2567     |      45
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 6 - 9 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 45 ท่าน จาก 14 หน่วยงานโดยหัวข้อการบรรยายและฝึกปฏิบัติการ ประกอบด้วยงานที่ 1 งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 5 งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 6 งานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
14 กุมภาพันธ์ 2567     |      46
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 (วันที่ 4 ของการอบรม)
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 ซึ่งจัดโดย ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โอกาสนี้ได้ให้เกียรติมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมจาก องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก, องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลอง, องค์การบริหารส่วนตำบลหัวทุ่ง, เทศบาลตำบลสันป่าเปา, เทศบาลตำบลออนใต้, องค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่, องค์การบริหารส่วนตำบลสะเนียน, สำนักงานเทศบาลตำบลวังหงส์,เทศบาลตำบลบวกค้าง, เทศบาลเมืองต้นเปา, องค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ, เทศบาลตำบลทุ่งต้อม, เทศบาลตำบลแม่ลานนา และเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
14 กุมภาพันธ์ 2567     |      68
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 (วันที่ 3 ของการอบรม)
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯโดยกิจกรรม ประกอบด้วย1. การบรรยาย : งานที่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น โดย อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์1.1. จัดหาและรวบรวมทรัพยากรในท้องถิ่น1.2. ปลูกและรักษาทรัพยากรท้องถิ่น1.3. ติดตามการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น แบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง2. ปฏิบัติการ : งานที่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น โดย อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์2.1. กำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่2.2. กำหนดชนิดพืชที่จะปลูก3. นำเสนอผลปฏิบัติการ งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น ให้ข้อเสนอแนะ โดยคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้4. การบรรยาย : งานที่ 4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน4.1. ฟื้นฟู บำรุงรักษา ขยายพันธ์เพิ่มขึ้น และแจกจ่ายให้แก่ชุมชน ตำบล4.2. ใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เช่น การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรในท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      66
ทั้งหมด 11 หน้า