โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ครั้งที่ 1/2568

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม ZOOM MEETING โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งความเป็นมาในการจัดงาน ความพร้อมในการเตรียมจัดงานของอนุกรรมการ 18 ฝ่าย และการเข้าร่วมจัดนิทรรศการของหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ โดยได้รับเกียรติจาก นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการ อพ.สธ. ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ./เลขาคณะกรรมการ อพ.สธ. ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิการบดี หัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริจากทั่วประเทศ จำนวน 214 หน่วยงาน กว่า 400 คน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย

การประชุมครั้งนี้ ประธานในที่ประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับความพร้อมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน ด้านสถานที่ บุคลากร และงบประมาณ พร้อมทั้งแจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ รวมถึงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานฯ ในการจัดงานดังกล่าว ตามลำดับ จากนั้นนายพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการ อพ.สธ. ได้แจ้งที่ประชุมให้ทราบถึงความเป็นมาในการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ.ในปีที่ผ่าน ๆ มา และดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับสรุปภาพรวมการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงาน คือ หน่วยงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 150 แห่ง จำนวน 1,500 คน หน่วยงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น 50 แห่ง จำนวน 500 คน หน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ 200 แห่ง จำนวน 2,000 คน และมีนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมประมาณ 5,000 คน ต่อ วัน

หลังจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้สรุปความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการเตรียมการจัดงานดังกล่าว ของคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ จำนวน 18 ฝ่าย พร้อมทั้งสรุปพื้นที่ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ในการจัดนิทรรศการ ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สิ่งสินตน เพื่อให้ทราบขนาดของพื้นที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมจัดนิทรรศการของหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ ทั้ง 214 หน่วยงาน

ปรับปรุงข้อมูล : 11/2/2568 11:21:25     ที่มา : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 2588

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการ จัดทำแม่บท ระยะ 5 ปีที่แปด (1 ตุลาคม 2569 - 30 กันยายน 2574) และแผนปฏิบัติงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2570
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการ จัดทำแม่บท ระยะ 5 ปีที่แปด (1 ตุลาคม 2569 - 30 กันยายน 2574) และแผนปฏิบัติงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2570 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. / เลขานุการคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ (อพ.สธ.) บรรยายหัวข้อ "แนวทาง จัดทำแม่บท ระยะ 5 ปีที่แปด (1 ตุลาคม 2569 - 30 กันยายน 2574) และแผนปฏิบัติงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2570" และได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร บรรยายหัวข้อ "การบูรณาการพันธกิจของมหาลัยให้สอดคล้องกับ อพ.สธ. และนโยบายงานวิจัยและบริการวิชาการตามแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่แปด ของ อพ.สธ.-มจ."ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ทั้งหมด 13 คณะ 3 วิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมทั้งสิ้น 70 ท่านณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 เมษายน 2568     |      36
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์การประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร การเตรียมความพร้อมในการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2568
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พร้อมด้วยนางสาวทิพมน สุขเกษม และนางสาวหัสยา โยนยิ่ง เจ้าหน้าที่ศูนย์น ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์การประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร การเตรียมความพร้อมในการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2568 โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุม อีกทั้งได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง รองหัวหน้าแผนก ระดับ 7 วิทยากร อพ.สธ. บรรยายแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ณ ห้องประชุมเอื้องสามปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 27) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
25 เมษายน 2568     |      12
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2568 (วันที่ 2 ของการอบรม)
วันที่ 2 เมษายน 2568 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2568ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา อาคารศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่โดยกิจกรรม ประกอบด้วย1.การบรรยาย : งานที่ 2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร   เนื้อหา :   1.1 การเก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น   1.2 การเก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น   1.3 การเก็บข้อมูลกายภาพในท้องถิ่น   1.4 การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน   1.5 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น   1.6 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากสัตว์ในท้องถิ่น   1.7 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์จากชีวภาพอื่นๆ ในท้องถิ่น   1.8 การเก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น   1.9 การเก็บข้อมูลแหล่งทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น   1.10 การจัดทำรายงานผลการสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น2. ปฏิบัติการ 9 ใบงาน ณ ถ้ำผานางคอย ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่3. นำเสนอผลปฏิบัติการ งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร ให้ข้อเสนอแนะ โดยคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ.4. การบรรยาย : การดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น และปัจจัยที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดย เทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป้าหมายการประเมินเพื่อเข้ารับป้ายพระราชทานในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ประจำปี 25685. สรุปผลการปฏิบัติงานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
9 เมษายน 2568     |      90
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2568
วันที่ 1 เมษายน 2568 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2568 โดยได้รับเกียรติจาก นายชินกร ดีสุยา ท้องถิ่นจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมี ผศ.ดร.รัฐพงศ์ ปกแก้ว คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมทั้งนี้ มีหน่วยงานที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม ทั้งหมด 11 หน่วยงาน เป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จาก 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ น่าน และลำพูน รวมทั้งสิ้น 19 ท่าน ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา อาคารศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
9 เมษายน 2568     |      45