โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)

                เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงานอพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดงานการประชุมเสวนาแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงาน การบูรณาการการเรียนการสอน และการสร้างเครือข่ายงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting และ Facebok live และได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี โดยมีอาจารย์สุรชัย ศรีนรจันทร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

               ช่วงที่ 1 การบรรยายพิเศษหัวข้อ  “ความเป็นมา ความสำคัญ และแนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)” โดย ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. และ การเสวนาหัวข้อ “บทบาทของสถานศึกษาในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และการขับเคลื่อนเครือข่ายสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” โดยนางอำไพ จันทร์หล้าฟ้า ผอ.กลุ่มลูกเสือยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ นางพุทธพร อินทรนันท์ ศึกษานิเทศชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแพร่  นางจารุณี จิตตธรรม ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดน่าน และนายชัชวาล พรหมเรือง ศึกษานิเทศชำนาญการกลุ่มงานนิเทศและติดตาม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นการเชิญชวนโรงเรียนให้สมัครสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและให้กำลังใจแก่โรงเรียนที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วให้ดำเนินการต่อไป

               ช่วงที่ 2 การบรรยายพิเศษหัวข้อ “บทบาทของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ.” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉายรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการเสวนาหัวข้อ  "แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงาน การบูรณาการการเรียนการสอน และการสร้างเครือข่ายงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" โดย นางเพียงจิต ชำนาญ ครูชำนาญการ (โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ จ.แพร่)  นางสาวนภัทรสิริ อินทสุภา (ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านคันธทรัพย์ จ.ชุมพร) และนางรุ้งกาญจน์ เกลอดู ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จ.เชียงใหม่) ซึ่งเป็นการเล่าประสบการณ์ ผลสำเร็จ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่สมาชิก เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของโครงการอพ.สธ. ทั้งนี้มีจำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วม จำนวน 260 โรงเรียน จากทั้งจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน (อ.นาน้อย อ.นาหมื่น อ.เวียงสาและอ.แม่จริม)และจังหวัดชุมพรเป็นอย่างดี

ปรับปรุงข้อมูล : 16/9/2565 16:53:27     ที่มา : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 833

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตรบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 ครั้งที่ 2/2567
วันที่ 25 เมษายน 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตรบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 ครั้งที่ 2/2567 โดยได้รับเกียรติจากนายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดงาน และอาจารย์ ดร.ศุกรี อยู่สุข คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมอาคารศาสตร์พระราชา (ดอยมะเกี๋ยง) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 32 คน จาก 11 หน่วยงาน
25 เมษายน 2567     |      10
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรบริหารและการจัดการ งานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 3/2567
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรบริหารและการจัดการ งานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 3/2567 โดยได้รับเกียรติจากนายณรงค์ศักดิ์ สุขสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น เป็นประธานเปิดงาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา วัฒนนภาเกษม รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมอาคารศาสตร์พระราชา (ดอยมะเกี๋ยง) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 40 คน จาก 16 หน่วยงาน
25 เมษายน 2567     |      17
ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับพระราชทานรางวัลหนังสือดีเด่น (รางวัลชมเชยประเภทสารคดี) งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52
วันที่ 28 มีนาคม 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับรางวัลชมเชย "หนังสือสารคดีด้านด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ" การประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 และ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้ร่วมเข้ารับพระราชทานรางวัลหนังสือดีเด่น (รางวัลชมเชยประเภทสารคดี) จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยหนังสือเรื่อง "เครื่องเคลือบดินเผาประดับ ในศิลปกรรมล้านนา" เป็นหนึ่งในงานวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)ประพันธ์โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยาจัดพิมพ์โดย : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ. สธ.-มจ.)
4 เมษายน 2567     |      83
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2567
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2567 หลักสูตรการบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2 และงานที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย ผศ.ชลดรงค์ ทองสง ผู้อำนวยการหน่วยประสานงานฯ กล่าวรายงานแก่ ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงานฯ ประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก คุณนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม และได้รับเกียรติจาก คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และ วิทยากรจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 ท่าน
26 มีนาคม 2567     |      60