โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)

เมื่อวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงานอพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการเสวนา เรื่อง อนาคตของพิพิธภัณฑ์ จินตนาการใหม่ และก้าวข้ามวิกฤต  “The Future  of Museums: Reimagine and Resilience” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting และ Facebok live และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี โดยมีอาจารย์สุรชัย ศรีนรจันทร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

           ช่วงแรกได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ บรรยายหัวข้อเรื่อง 1) “พลิกโฉมการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ (Reinventing Museum Management)” โดย คุณสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2) “พิพิธภัณฑ์ท่ามกลางโควิด (Museums during COVID-19)” โดย คุณสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ฝ่ายพัฒนา) และ 3) “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล: ความท้าทายและโอกาส (The Digital Museum: Challenge and Opportunity)” โดย คุณคริสมาส ศุภทนต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์

           ช่วงที่สอง เป็นการประชุมการจัดการเชิงยุทธศาสตร์พิพิธภัณฑ์นวัตกรรมการเกษตร โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ หัวข้อที่ 1 การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ “Changes and Challenges in Museum Management” หัวข้อที่ 2 คิดให้ไกลกว่าการจัดแสดง “Think beyond the Exhibition.” และหัวข้อที่ 3 ทำสิ่งใหม่ ที่เจ๋งและเร็ว “Make it New: Smarter and Sprier” โดยกลุ่มเป้าหมายของการเสวนาครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการจัดสร้างและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ คุณคณิต ธนูธรรมเจริญ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ คุณมานพ อิสสะรีย์ รศ.ศิริชัย หงษ์วิทยากร และรศ.ดร.ศิริพร กิรติการกุล รวมทั้ง คณะกรรมการคณะกรรมการศึกษา และกำหนดแนวทางการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะอนุกรรมการศึกษา และกำหนดแนวทาง การจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมการเกษตร คณะทำงานออกแบบ ติดตาม วิเคราะห์ และประเมินความคุ้มค่า และคณะทำงานด้านนิทรรศการและเนื้อหาการจัดแสดงภายในและภายนอกอาคาร พิพิธภัณฑ์นวัตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนกว่า 40 คน 

   

ปรับปรุงข้อมูล : 16/9/2565 16:53:55     ที่มา : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 694

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตรบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 ครั้งที่ 2/2567
วันที่ 25 เมษายน 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตรบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 2 ครั้งที่ 2/2567 โดยได้รับเกียรติจากนายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดงาน และอาจารย์ ดร.ศุกรี อยู่สุข คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมอาคารศาสตร์พระราชา (ดอยมะเกี๋ยง) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 32 คน จาก 11 หน่วยงาน
25 เมษายน 2567     |      20
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรบริหารและการจัดการ งานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 3/2567
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรบริหารและการจัดการ งานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 3/2567 โดยได้รับเกียรติจากนายณรงค์ศักดิ์ สุขสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น เป็นประธานเปิดงาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา วัฒนนภาเกษม รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมอาคารศาสตร์พระราชา (ดอยมะเกี๋ยง) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 40 คน จาก 16 หน่วยงาน
25 เมษายน 2567     |      41
ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับพระราชทานรางวัลหนังสือดีเด่น (รางวัลชมเชยประเภทสารคดี) งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52
วันที่ 28 มีนาคม 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยา อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับรางวัลชมเชย "หนังสือสารคดีด้านด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชีวประวัติ" การประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 และ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้ร่วมเข้ารับพระราชทานรางวัลหนังสือดีเด่น (รางวัลชมเชยประเภทสารคดี) จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ฮอลล์ 5 - 7 ชั้น LG ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยหนังสือเรื่อง "เครื่องเคลือบดินเผาประดับ ในศิลปกรรมล้านนา" เป็นหนึ่งในงานวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)ประพันธ์โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์ เครือระยาจัดพิมพ์โดย : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ. สธ.-มจ.)
4 เมษายน 2567     |      101
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2567
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา หน่วยประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครั้งที่ 2/2567 หลักสูตรการบริหารและการจัดการ ,งานที่ 1,งานที่ 2 และงานที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดย ผศ.ชลดรงค์ ทองสง ผู้อำนวยการหน่วยประสานงานฯ กล่าวรายงานแก่ ผศ.ดร.กมลวรรณ ศุภวิญญู รองผู้อำนวยการหน่วยประสานงานฯ ประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก คุณนิรัช โอบอ้อม ปลัดอาวุโสอำเภอละแม กล่าวให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุม และได้รับเกียรติจาก คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากร อพ.สธ.สวนจิตรลดา และ วิทยากรจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้มีหน่วยงานองค์การปกครองท้องถิ่นจำนวน 12 แห่ง ได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 68 ท่าน
26 มีนาคม 2567     |      65