โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 9.00 น. ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ขอแสดงความยินดีกับ นักวิจัย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิชาการ ระดับดีเด่น ในรูปแบบการนำเสนอโปสเตอร์ ในงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 19-24กันยายน 2565 จำนวนทั้งสิ้น 10 ผลงาน โดยแบ่งเป็น ภาคบรรยาย (Oral Presentation) จำนวน 4 ผลงาน และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentatio) จำนวน 6 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้

1. การนำเสนอดีเด่นภาคบรรยาย (Oral Presentation) จำนวน 3 ผลงาน ประกอบด้วย

1.1 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้ง (Schoutenia glomerataking subsp. Peragrina (Craib) Roekm.) ที่พบในเขตจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเทคนิค HAT-RAPD

โดย นางสาวปริญญานุช ปินนิล

1.2 การประเมินสายพันธุ์ห้อมด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลเพื่ออนุรักษ์ไว้ในสภาพถิ่นเดิมของจังหวัดแพร่ โดย รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย

1.3 การสำรวจชนิดปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในบริเวณแนวปะการังน้ำตื้น (หินละแม) โดย อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์

2. การนำเสนอดีเด่นภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) จำนวน 6 ผลงาน ประกอบด้วย

2.1 ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวต่อการเพิ่มปริมาณต้นเอื้องคำในสภาพปลอดเชื้อ โดย ผศ.ดร.ปวีณา ภูมิสุทธาผล และ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล

2.2 การศึกษาสภาวะที่หมาะสมในการสกัดสารประกอบฟินอลิกจากดอกเอื้องคำ โดยใช้เทคนิคสกัดด้วยไมโครเวฟ โดย อาจารย์ ดร.นักรบ นาคประสม, อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และ ผศ.ดร. กาญจนา นาคประสม

2.3 การอนุรักษ์และพัฒนาเคี่ยม (Cotylelobium Lanceolatum) แบบบูรณาการครบวงจร โดย อาจารย์ ดร.จิระศักดิ์ วิชาสวัตติ์, อาจารย์พัชรินทร์ วิริยะสุขสวัสดิ์, อาจารย์วิชชุดา เอื้ออารี, อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร, อาจารย์ทวิช เตี่ยไพบูลย์, อาจารย์ ดร.วชิระ ชุ่มมงคล, อาจารย์ปิยนุซ จันทรัมพร, อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์ สุขใส และ อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ พู่พัฒนศิลป์

2.4 พฤกษศาสตร์ของต้นรวงผึ้งและการใช้ประโยชน์ในงานภูมิทัศน์ โดย ผศ.ดร. เยาวนิตย์ ธาราฉาย, อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล และนางสาววิภาวี นิละปะกะ

2.5 Chemical composition and biological properties of the Yellow Star (Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.) extracts by Warathip Chuankid, Chananchida Thacharoen,

Parawee Kanjanaphachoat

2.6 The golden orchid (Dendrobium chrysotoxum LindI.) extractspolysaccharides, reducing sugars, soluble proteins, and their antibacterial properties by Rungthip Kawaree, Tipsuda Tangtragoon andTippapha Pisithkult

ในครั้งนี้ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่นักวิจัย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้สร้างชื่อเสียงในระดับชาติ ประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบเกียรติบัตรแก่นักวิจัย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี

ปรับปรุงข้อมูล : 9/11/2565 14:56:14     ที่มา : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 469

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร การเตรียมความพร้อมในการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนสถานศึกษา
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน, อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. ปรมินทร์ นาระทะ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี และอาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์ คณะกรรมการตรวจประเมินการดำเนินงานฐานทรัพยากรทองถิ่น และสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.) และนางสุวจี ปิมปา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการประถมศึกษาพร้อมกับคุณครูและเจ้าหน้าที่จากโรงเรียนสวนเด็กสันกำแพงได้เข้าร่วมรับฟังการประเมิน โดยได้รับเกียรติจาก คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ระดับ ๗ และรองศาสตราจารย์ ดร.มาลี ตั้งระเบียบ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้ประเมินและเสนอแนะการนำเสนอของโรงเรียนสันทรายวิทยาคม โดยมีผู้นำเสนอจำนวน 7 ท่าน ดังนี้ นายนิกร แก้วคำดี ผู้อำนวยการโรงเรียนสันทรายวิทยาคม, นางนพมาศ พิทักษ์กมลรัตน์, นางสาววิสุธิดา ธัญญะวานิช, นางวินิดา กิติลือ, นางประภาพร กมลสมัย, นางสาวฐิติยาพร พิภาค และนางสาวนิภาพร อุนจะนำ คุณครูโรงเรียนสันทรายวิทยาคมณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
24 กรกฎาคม 2567     |      13
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สนับสนุนการจัดค่ายเยาวชนรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นตามหลัก บ-ว-ร เพื่อขยายผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้สนับสนุนการจัดค่ายเยาวชนรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นตามหลัก บ-ว-ร เพื่อขยายผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ให้กับนักเรียน และคุณครูจากโรงเรียนบ้านป่าไม้แดง และโรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็ก โดยนายพงษ์ศักดิ์ แก้วแสนเมือง ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน เป็นวิทยากรในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ณ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ --------สามารถดูรูปภาพเพิ่มเติ่ม-------- https://drive.google.com/drive/folders/1yv_3Hwufzmwi4A2YBC6GZdcdgwI53NAi?usp=sharing
19 กรกฎาคม 2567     |      20
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการและ “ผลลูกโทะ” ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
นางสาววิภารัตน์ อินทร์ปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสังขประดิษฐ์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ในการอนุเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการและ “ผลลูกโทะ” ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมต้นโทะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร รับผิดชอบโครงการโดยว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตรโรงเรียนได้นำผลลูกโทะมาให้นักเรียนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้แบรนด์ “ดอนโทะ” อาทิเช่น แยมลูกโทะ อาลัวลูกโทะ โยเกิร์ต ป๊อบคอนเคลือบลูกโทะ เป็นต้น และโรงเรียนยังส่งผลงานเข้าประกวดจนได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนการงานอาชีพและผลิตภัณฑ์โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับประเทศ ในปีการศึกษา 2565 และต่อยอดผลิตภัณฑ์สร้างเป็นบริษัทสร้างการดีส่งเข้าประกวดได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม ระดับภูมิภาค ภาคใต้ในปีการศึกษา 2566
4 กรกฎาคม 2567     |      1614
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร 5 องค์ประกอบ งานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 25-28 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียนหลักสูตร 5 องค์ประกอบ งานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. กล่าวรายงาน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม ผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมการฝึกอบรมขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 5 องค์ประกอบ ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียนองค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆองค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษานำไปสู่การผลักดันการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นและงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ซึ่งในกระบวนการฝึกอบรม จะมีทั้งการบรรยาย การสาธิต และการปฏิบัติการในพื้นที่จริงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความเข้าใจในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น และมีการนำเสนอผลงานเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากทางวิทยากร ทำให้ผลงานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม ทั้งหมด 9 หน่วยงาน เป็นสถานศึกษา จาก 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ และน่าน รวมทั้งสิ้น 32 คน ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา อาคารศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีผู้เข้าร่วม 9 หน่วยงาน จำนวน 32 ท่าน
1 กรกฎาคม 2567     |      512