โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้เข้าร่วมงาน MJU Thank you Press Party 2023 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยพบปะและขอบคุณสื่อมวลชน ประจำปี 2566 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ชาวแม่โจ้ - พี่น้องสื่อมวลชน โดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้มอบหมายให้นายอดิศักดิ์ การพึ่งตน หัวหน้าสำนักงานศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. พร้อมด้วยนางสาวพีราดา แก้วทองประคำ, นางสาวเพ็ญนภา ใจสุข, นางสาวทิพมน สุขเกษม และนางสาวดวงหทัย แสงอำไพ เจ้าหน้าที่ประสานงานศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้ร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์สุขภาพจากดอกเอื้องคำ กล้วยไม้สมุนไพร พืชอนุรักษ์ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้วิจัยและพัฒนาต่อยอด โดยทีมนักวิจัย อพ.สธ.แม่โจ้ และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงาน โอกาสนี้ มีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และคณะสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมงานคับคั่ง ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ณ ห้องเชียงทอง 1 ศูนย์ประชุมนานาชาติคุ้มคำ เชียงใหม่

ปรับปรุงข้อมูล : 23/9/2566 20:17:54     ที่มา : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 341

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร การเตรียมความพร้อมในการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนสถานศึกษา
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน, อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. ปรมินทร์ นาระทะ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี และอาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์ คณะกรรมการตรวจประเมินการดำเนินงานฐานทรัพยากรทองถิ่น และสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.) และนางสุวจี ปิมปา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการประถมศึกษาพร้อมกับคุณครูและเจ้าหน้าที่จากโรงเรียนสวนเด็กสันกำแพงได้เข้าร่วมรับฟังการประเมิน โดยได้รับเกียรติจาก คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ระดับ ๗ และรองศาสตราจารย์ ดร.มาลี ตั้งระเบียบ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้ประเมินและเสนอแนะการนำเสนอของโรงเรียนสันทรายวิทยาคม โดยมีผู้นำเสนอจำนวน 7 ท่าน ดังนี้ นายนิกร แก้วคำดี ผู้อำนวยการโรงเรียนสันทรายวิทยาคม, นางนพมาศ พิทักษ์กมลรัตน์, นางสาววิสุธิดา ธัญญะวานิช, นางวินิดา กิติลือ, นางประภาพร กมลสมัย, นางสาวฐิติยาพร พิภาค และนางสาวนิภาพร อุนจะนำ คุณครูโรงเรียนสันทรายวิทยาคมณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
24 กรกฎาคม 2567     |      13
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สนับสนุนการจัดค่ายเยาวชนรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นตามหลัก บ-ว-ร เพื่อขยายผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้สนับสนุนการจัดค่ายเยาวชนรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นตามหลัก บ-ว-ร เพื่อขยายผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ให้กับนักเรียน และคุณครูจากโรงเรียนบ้านป่าไม้แดง และโรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็ก โดยนายพงษ์ศักดิ์ แก้วแสนเมือง ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน เป็นวิทยากรในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ณ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ --------สามารถดูรูปภาพเพิ่มเติ่ม-------- https://drive.google.com/drive/folders/1yv_3Hwufzmwi4A2YBC6GZdcdgwI53NAi?usp=sharing
19 กรกฎาคม 2567     |      20
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการและ “ผลลูกโทะ” ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
นางสาววิภารัตน์ อินทร์ปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสังขประดิษฐ์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ในการอนุเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการและ “ผลลูกโทะ” ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมต้นโทะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร รับผิดชอบโครงการโดยว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตรโรงเรียนได้นำผลลูกโทะมาให้นักเรียนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้แบรนด์ “ดอนโทะ” อาทิเช่น แยมลูกโทะ อาลัวลูกโทะ โยเกิร์ต ป๊อบคอนเคลือบลูกโทะ เป็นต้น และโรงเรียนยังส่งผลงานเข้าประกวดจนได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนการงานอาชีพและผลิตภัณฑ์โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับประเทศ ในปีการศึกษา 2565 และต่อยอดผลิตภัณฑ์สร้างเป็นบริษัทสร้างการดีส่งเข้าประกวดได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม ระดับภูมิภาค ภาคใต้ในปีการศึกษา 2566
4 กรกฎาคม 2567     |      1614
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร 5 องค์ประกอบ งานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 25-28 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียนหลักสูตร 5 องค์ประกอบ งานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. กล่าวรายงาน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม ผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมการฝึกอบรมขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 5 องค์ประกอบ ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียนองค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆองค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษานำไปสู่การผลักดันการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นและงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ซึ่งในกระบวนการฝึกอบรม จะมีทั้งการบรรยาย การสาธิต และการปฏิบัติการในพื้นที่จริงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความเข้าใจในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น และมีการนำเสนอผลงานเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากทางวิทยากร ทำให้ผลงานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม ทั้งหมด 9 หน่วยงาน เป็นสถานศึกษา จาก 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ และน่าน รวมทั้งสิ้น 32 คน ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา อาคารศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีผู้เข้าร่วม 9 หน่วยงาน จำนวน 32 ท่าน
1 กรกฎาคม 2567     |      512