โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร การเตรียมความพร้อมในการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนสถานศึกษา
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน, อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. ปรมินทร์ นาระทะ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี และอาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์ คณะกรรมการตรวจประเมินการดำเนินงานฐานทรัพยากรทองถิ่น และสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.) และนางสุวจี ปิมปา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการประถมศึกษาพร้อมกับคุณครูและเจ้าหน้าที่จากโรงเรียนสวนเด็กสันกำแพงได้เข้าร่วมรับฟังการประเมิน โดยได้รับเกียรติจาก คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ระดับ ๗ และรองศาสตราจารย์ ดร.มาลี ตั้งระเบียบ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้ประเมินและเสนอแนะการนำเสนอของโรงเรียนสันทรายวิทยาคม โดยมีผู้นำเสนอจำนวน 7 ท่าน ดังนี้ นายนิกร แก้วคำดี ผู้อำนวยการโรงเรียนสันทรายวิทยาคม, นางนพมาศ พิทักษ์กมลรัตน์, นางสาววิสุธิดา ธัญญะวานิช, นางวินิดา กิติลือ, นางประภาพร กมลสมัย, นางสาวฐิติยาพร พิภาค และนางสาวนิภาพร อุนจะนำ คุณครูโรงเรียนสันทรายวิทยาคมณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
24 กรกฎาคม 2567     |      13
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สนับสนุนการจัดค่ายเยาวชนรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นตามหลัก บ-ว-ร เพื่อขยายผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้สนับสนุนการจัดค่ายเยาวชนรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นตามหลัก บ-ว-ร เพื่อขยายผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ให้กับนักเรียน และคุณครูจากโรงเรียนบ้านป่าไม้แดง และโรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็ก โดยนายพงษ์ศักดิ์ แก้วแสนเมือง ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน เป็นวิทยากรในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ณ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ --------สามารถดูรูปภาพเพิ่มเติ่ม-------- https://drive.google.com/drive/folders/1yv_3Hwufzmwi4A2YBC6GZdcdgwI53NAi?usp=sharing
19 กรกฎาคม 2567     |      20
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการและ “ผลลูกโทะ” ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
นางสาววิภารัตน์ อินทร์ปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสังขประดิษฐ์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ในการอนุเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการและ “ผลลูกโทะ” ซึ่งทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สร้างแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมต้นโทะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร รับผิดชอบโครงการโดยว่าที่ร้อยตรีขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ นักวิชาการเกษตรโรงเรียนได้นำผลลูกโทะมาให้นักเรียนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้แบรนด์ “ดอนโทะ” อาทิเช่น แยมลูกโทะ อาลัวลูกโทะ โยเกิร์ต ป๊อบคอนเคลือบลูกโทะ เป็นต้น และโรงเรียนยังส่งผลงานเข้าประกวดจนได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนการงานอาชีพและผลิตภัณฑ์โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับประเทศ ในปีการศึกษา 2565 และต่อยอดผลิตภัณฑ์สร้างเป็นบริษัทสร้างการดีส่งเข้าประกวดได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม ระดับภูมิภาค ภาคใต้ในปีการศึกษา 2566
4 กรกฎาคม 2567     |      1614
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร 5 องค์ประกอบ งานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 25-28 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียนหลักสูตร 5 องค์ประกอบ งานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1/2567 โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. กล่าวรายงาน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม ผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมการฝึกอบรมขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 5 องค์ประกอบ ได้แก่องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียนองค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆองค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษานำไปสู่การผลักดันการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นและงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ซึ่งในกระบวนการฝึกอบรม จะมีทั้งการบรรยาย การสาธิต และการปฏิบัติการในพื้นที่จริงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความเข้าใจในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น และมีการนำเสนอผลงานเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากทางวิทยากร ทำให้ผลงานสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการฝึกอบรม ทั้งหมด 9 หน่วยงาน เป็นสถานศึกษา จาก 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ และน่าน รวมทั้งสิ้น 32 คน ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา อาคารศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมีผู้เข้าร่วม 9 หน่วยงาน จำนวน 32 ท่าน
1 กรกฎาคม 2567     |      512
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ต้อนรับและสนับสนุนการจัดค่ายเยาวชนรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นตามหลัก บ-ว-ร เพื่อขยายผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ
เมื่อวันที่ 20-21 มิถุนายน 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้ต้อนรับและสนับสนุนการจัดค่ายเยาวชนรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นตามหลัก บ-ว-ร เพื่อขยายผลโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ให้กับนักเรียน และคุณครูจากโรงเรียนบ้านแม่โจ้ และโรงเรียนสันสรายวิทายาคม โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมลพร ปานง่อม เป็นวิทยากรในครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ณ ห้องแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 50 คน จากโรงเรียนบ้านแม่โจ้ และโรงเรียนสันทรายวิทายาคม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
1 กรกฎาคม 2567     |      534
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการระบบฐานข้อมูลทรัพยากร อพ.สธ.”
วันที่ 17 - 18 มิถุนายน 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการระบบฐานข้อมูลทรัพยากร อพ.สธ.” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงานในพิธี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากรในบรรยายครั้งนี้ ณ ห้องแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 18 คน จาก 9 หน่วยงาน
19 มิถุนายน 2567     |      57
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร วิทยากรผู้ช่วย
เมื่อวันที่ 11 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร วิทยากรผู้ช่วยการอบรมในครั้งนี้ จัดโดย ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งแต่วันที่ 11-14 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมวนาสวรรค์ วนาศรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีบุคลากรจากศูนย์แม่ข่าย และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ทั่วประเทศ และหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วม จำนวน 26 หน่วยงาน จำนวนทั้งสิ้น 98 คนโดยได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ นำทีมวิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สวนจิตรลดา จำนวน 6 คน เป็นวิทยากรบรรยาย และคุณกิติศักดิ์ ดวงสร้อยทอง จากบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนมอบงบประมาณสนับสนุน การฝึกอบรมครั้งนี้
13 มิถุนายน 2567     |      67
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประชาสัมพันธ์ “ประกาศรับข้อเสนอกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.-วช)
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพ และกายภาพ โดยให้เยาวชนนั้น ได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าและประโยชน์ อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของการดำเนินงาน อพ.สธ.-วช. จึงเปิดรับข้อเสนอกิจกรรมโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสามารถดูรายละเอียดการให้ทุนกิจกรรมได้ที่ www.nrct.go.thhttps://nriis.go.th และ https://rspg.nrct.go.th/announcement1. ดาวน์โหลดเอกสาร ประกาศรับข้อเสนอกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ที่ https://nriis.go.th/www/NewsEventDetail.aspx?NID=11901 และ rspg.nrct.go.th/form2. เมื่อกรอกเอกสารครบถ้วนให้แนบไฟล์ข้อเสนอกิจกรรมในรูปแบบ MSWord หรือ PDF พร้อมไฟล์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องส่งมาที่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ rspg.nrct@nrct.go.th3. เปิดรับข้อเสนอกิจกรรมระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2567 เวลา 18.00 น.4. วช. จะประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอกิจกรรมที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นทางเว็บไซต์ www.nrct.go.thhttps://nriis.go.th และ https://rspg.nrct.go.th/
6 มิถุนายน 2567     |      50
คณะผู้บริหารและศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะผู้บริหารและศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ., ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ., รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม, อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร, นายชัยวิชิต เพชรศิลา และเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้รับเกียรติจากพลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ฝ่ายพัฒนา) โดยมีคณะทำงานร่วมศึกษา จำนวน 13 ท่าน
6 มิถุนายน 2567     |      29
คณะผู้บริหารและศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. เข้าร่วมศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
เมื่อวันที่ 29 - 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะผู้บริหารและศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ., ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ., รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม, อาจารย์ ดร.โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร, นายชัยวิชิต เพชรศิลา และเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้รับเกียรติจากนางสาวจุฑามาศ ทองชมพูนุช ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศและการสื่อสาร และนาวาตรีเอนก จะสูงเนิน วิทยากรบรรยายในครั้งนี้ โดยมีคณะทำงานร่วมศึกษา จำนวน 12 ท่าน
6 มิถุนายน 2567     |      34
หน่วยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมระเกียรติ ได้ร่วมบรรยายให้ความรู้การดำเนินงานงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 23 - 24 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา หน่วยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมระเกียรติ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์ ปกแก้ว, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี, อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์, อาจารย์ยุทธนา เถิงล้อม, นายสิทิไวกูล ทิราวงศ์, นางธนันธรณ์ วุฒิญาณ, นายกิติพงษ์ วุฒิญาณ และนางสาวปริญญา ทาเนตร ได้ร่วมบรรยายให้ความรู้การดำเนินงานงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น จัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 60 คน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 33 แห่ง ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น อำเภอแม่จริม อำเภอเวียงสา และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา
5 มิถุนายน 2567     |      60
ทั้งหมด 13 หน้า