โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ร่วมพิธีวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ประจำปี 2566 และมอบต้นกล้วยไม้จำนวน 99 ต้น
เมื่อวันพุธที่ 7 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ประจำปี 2566 ได้รับเกียรติจาก ดร.อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี นำคณะผู้บริหาร ผู้แทนคณาจารย์ บุคลากร พร้อมด้วย ดร.สมชาย เขียวแดง นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ในฐานะผู้แทนศิษย์เก่าทั่วประเทศ และผู้แทนองค์กรนักศึกษา ร่วมพิธีบรวงสรวงพระพิรุณทรงนาค ต่อด้วยพิธีทำบุญทางศาสนา และวางพวงมาลาคารวะอนุสาวรีย์คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกก่อตั้งแม่โจ้ จนมีคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้” ซึ่งในแม่โจ้ปีนี้ครบรอบ 89 ปี โอกาสนี้ คุณขุมทรัพย์ โลจายะ (หลานสายตรง) ทายาทคุณพระช่วงฯ ให้เกียรติเข้าร่วมพิธี จากนั้น นายกสภามหาวิทยาลัย ทายาทคุณพระช่วงฯ อธิการบดีพร้อมคณะผู้บริหาร นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และผู้แทนศิษย์เก่าแม่โจ้ ได้ร่วมกิจกรรมปล่อยกล้วยไม้ 99 ต้น ร่วมฉลองแม่โจ้ 90 ปี ณ บริเวณศาลเจ้าแม่แม่โจ้ โดยศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ ได้สนับสนุนต้นกล้วยไม้จำนวน 99 ต้น ในกิจกรรมปล่อยกล้วยไม้เพื่อร่วมฉลองแม่โจ้ 90 ปี ณ อุทยานกล้วยไม้ไทยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริเวณศาลเจ้าแม่ แม่โจ้
8 มิถุนายน 2566     |      13
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และการระบุชนิดพรรณไม้เบื้องต้น"
เมื่อวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และการระบุชนิดพรรณไม้เบื้องต้น ณ ห้องแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก ดร.ปรัชญา ศรีสง่า หัวหน้าส่วนหอพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสต ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 32 ท่าน จาก 11 หน่วยงาน
19 พฤษภาคม 2566     |      21
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรบริหารและการจัดการ งานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 1/2566
เมื่อวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรบริหารและการจัดการ งานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี ร่วมพิธีเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) อีกทั้งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กมลพร ปานง่อม และอาจารย์ ดร. เกษราพร ทิราวงศ์ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 36 ท่าน จาก 13 หน่วยงาน
28 มีนาคม 2566     |      81
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตรการบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และ 2 ครั้งที่ 1/2566
เมื่อวันที่ 7 - 8 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตรการบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 1 และ 2 ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) อีกทั้งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.มณฑล นอแสงศรี และอาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์ ร่วมเป็นวิทยากร โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 32 ท่าน จาก 12 หน่วยงาน
10 มีนาคม 2566     |      77
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566
วันที่ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี ร่วมพิธีเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และองค์การบริการส่วนตำบลกึ้ดช้าง ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 79 ท่าน จาก 42 หน่วยงาน
13 กุมภาพันธ์ 2566     |      82
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 (วันที่ 4)
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และองค์การบริการส่วนตำบลกึ้ดช้าง ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)กิจกรรม ประกอบด้วยบรรยายและปฏิบัติการ : งานที่ 5 งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. และคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ. เนื้อหา :        1.1.รวบรวมและบันทึกข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น (ทรัพยากรกายภาพ ทรพั ยากรชีวภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา)        1.2. ระบบการจัดเก็บและสืบค้นได้ (เอกสาร และคอมพิวเตอร์)    2. บรรยาย: งานที่ 6 งานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทําฐาน ทรัพยากรท้องถิ่น โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. เนื้อหา :        2.1สนับสนุนการสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)        2.2.สนับสนุนในเรื่องงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อํานวยความสะดวกต่าง ๆ   3. บรรยายและปฏิบัติการ : การวางแผนด้านการบริหารและการจัดการ โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ.   4. สรุปการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ.   5. มอบเกียรติบัตร และพิธีปิด โดย ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ.โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 79 ท่าน จาก 42 หน่วยงาน
6 กุมภาพันธ์ 2566     |      120
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 (วันที่ 3 )
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และองค์การบริการส่วนตำบลกึ้ดช้าง ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)กิจกรรม ประกอบด้วย นําเสนอผลงานกลุ่ม ให้ข้อเสนอแนะโดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. และคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ. บรรยาย: งานที่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. เนื้อหา :   2.1. จัดหาและรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น   2.2. ปลูกและรักษาทรัพยากรท้องถิ่น   2.3. ติดตามการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรท้องถิ่นเช่น แบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง บรรยายและปฏิบัติการ : การวิเคราะห์สภาพพื้นที่ โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. บรรยายและปฏิบัติการ : กําหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่กําหนดชนิดพืชที่จะปลูก โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. บรรยายและปฏิบัติการ : ทําผังภูมิทัศน์ แสดงรายละเอียดประกอบ โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. นําเสนอผลงานกลุ่ม ให้ข้อเสนอแนะ โดย คณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ. บรรยายและปฏิบัติการ : งานที่ 4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร ท้องถิ่น วิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ.เนื้อหา :  7.1. ฟื้นฟู บํารุงรักษา ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น และแจกจ่ายให้แก่ชุมชน ตําบล  7.2. ใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เช่น การจัดการท่องเที่ยว เชิงนิเวศน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรในท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ สรุปและให้ข้อเสนอแนะ โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ.โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 79 ท่าน จาก 42 หน่วยงาน
6 กุมภาพันธ์ 2566     |      60
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 (วันที่ 2)
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และองค์การบริการส่วนตำบลกึ้ดช้าง ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)กิจกรรม ประกอบด้วยการบรรยาย : งานที่ 2 งานสํารวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. มีเนื้อหา :     1.1. เก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น     1.2. เก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น     1.3. เก็บข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น     1.4. เก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน     1.5. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น     1.6. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสัตว์ในท้องถิ่น     1.7. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของชีวภาพอื่น ๆ ในท้องถิ่น     1.8. เก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น     1.9. เก็บข้อมูลแหล่งทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น     1.10. จัดทํารายงานผลการสํารวจและจัดทําฐานทรัพยากรท้องถิ่นการบรรยายและปฏิบัติการ : ใบงานที่ 1 - ใบงานที่ 4 โดย ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย ,ผศ.ดร.กมลพร ปานง่อม และนายกิติพงษ์ วุฒิญาณ การนําเสนอผลงานกลุ่มและให้ข้อเสนอแนะ โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากร อพ.สธ. และคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ.การบรรยายและปฏิบัติการ : ใบงานที่ 5 (บันทึก ต้นไม้ กลุ่มละ 1 ต้น) โดย ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉายการบรรยายและปฏิบัติการ : ใบงานที่ 6 (บันทึก สัตว์ กลุ่มละ 1 ชนิด) (บันทึกสัตว์กลุ่มละ 1 ชนิด) โดย ผศ .ดร.วรศิลป์ มาลัยทองการบรรยายและปฏิบัติการ :ใบงานที่ 7 (บันทึกชีวภาพอื่น ๆ กลุ่มละ 1 ชนิด) (เห็ด รา ไลเคน) โดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูลการบรรยายและปฏิบัติการ : ใบงานที่ 8 บันทึกภูมิปัญญา และใบงานที่ 9 บันทึก โบราณสถาน/โบราณวัตถุ กลุ่มละ 1 ภูมิปัญญา/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ โดย นางจีราพรรณ จันทร์หอม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และนางสาวธัญธิตา สุทธิกุลบุตร ครูชำนาญการ (ค.ศ.2) โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 79 ท่าน จาก 42 หน่วยงาน
6 กุมภาพันธ์ 2566     |      91
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี ร่วมพิธีเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และองค์การบริการส่วนตำบลกึ้ดช้าง ร่วมเป็นวิทยากรปฏิบัติการ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)กิจกรรม ประกอบด้วย1. การบรรยาย : สรุปแนวทางการดําเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดย นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 62. การบรรยาย งานที่ 1 งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย และ ผศ.ดร.วาสนา วิรุญรัตน์ มีเนื้อหาดังนี้    2.1. กําหนดขอบเขตพื้นที่และการสํารวจทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.2. ทําผังแสดงขอบเขตพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.3. ศึกษาทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.4. ทําตัวอย่างทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.5. ทําทะเบียนทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.6. ดูแล รักษา ทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น3. การฝึกปฏิบัติการ งานที่ 1 งานปกปักทรัพยากร (การสํารวจทรัพยากร การทําผัง แสดงทรัพยากร การศึกษาทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากร) โดย ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย และผศ.ดร.วาสนา วิรุญรัตน์4. การนําเสนอผลปฏิบัติการ งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น ให้ข้อเสนอแนะ โดยคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ.5. การสรุปและให้ข้อเสนอแนะโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มจ.โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 79 ท่าน จาก 42 หน่วยงาน
2 กุมภาพันธ์ 2566     |      142
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ต้อนรับคณะดูงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง จังหวัดตรัง
เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 15.00 -17.00 น. ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ตอนรับคณะศึกษาดูงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง จ.ตรัง นำโดย นายเอกลักษณ์ แก้วศรีสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง, นายอำนาจ ขวัญดี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง, นายเกษม รักขาว รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง, นายเฉลิม ศรีสุข ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล, นายเจษฎากรณ์ วีระสุข หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล, นางสาวอรวรรณ ไชยคง ผู้อำนวยการกองคลัง และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปาง ร่วมศึกษาดูงานการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.) โดยมีผู้เข้าร่วมในการศึกษาดูงานครั้งนี้ จำนวน 34 ท่าน
19 มกราคม 2566     |      87
ทั้งหมด 7 หน้า