โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.)
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 6 - 9 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก นายชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 45 ท่าน จาก 14 หน่วยงานโดยหัวข้อการบรรยายและฝึกปฏิบัติการ ประกอบด้วยงานที่ 1 งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 5 งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นงานที่่ 6 งานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
14 กุมภาพันธ์ 2567     |      60
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 (วันที่ 4 ของการอบรม)
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 ซึ่งจัดโดย ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โอกาสนี้ได้ให้เกียรติมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมจาก องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก, องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเหล็กลอง, องค์การบริหารส่วนตำบลหัวทุ่ง, เทศบาลตำบลสันป่าเปา, เทศบาลตำบลออนใต้, องค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่, องค์การบริหารส่วนตำบลสะเนียน, สำนักงานเทศบาลตำบลวังหงส์,เทศบาลตำบลบวกค้าง, เทศบาลเมืองต้นเปา, องค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ, เทศบาลตำบลทุ่งต้อม, เทศบาลตำบลแม่ลานนา และเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
14 กุมภาพันธ์ 2567     |      93
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 (วันที่ 3 ของการอบรม)
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯโดยกิจกรรม ประกอบด้วย1. การบรรยาย : งานที่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น โดย อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์1.1. จัดหาและรวบรวมทรัพยากรในท้องถิ่น1.2. ปลูกและรักษาทรัพยากรท้องถิ่น1.3. ติดตามการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น แบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง2. ปฏิบัติการ : งานที่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น โดย อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์2.1. กำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่2.2. กำหนดชนิดพืชที่จะปลูก3. นำเสนอผลปฏิบัติการ งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น ให้ข้อเสนอแนะ โดยคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้4. การบรรยาย : งานที่ 4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์ นาขยัน4.1. ฟื้นฟู บำรุงรักษา ขยายพันธ์เพิ่มขึ้น และแจกจ่ายให้แก่ชุมชน ตำบล4.2. ใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เช่น การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรในท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      88
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 (วันที่ 2 ของการอบรม)
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯโดยกิจกรรม ประกอบด้วย1. การบรรยาย : งานที่ 2 งานสํารวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.รัฐพงศ์ ปกแก้ว1.1. เก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น1.2. เก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น1.3. เก็บข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น1.4. เก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน1.5. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น1.6. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสัตว์ในท้องถิ่น1.7. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของชีวภาพอื่น ๆ ในท้องถิ่น1.8. เก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น1.9. เก็บข้อมูลแหล่งทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น1.10. จัดทํารายงานผลการสํารวจและจัดทําฐานทรัพยากรท้องถิ่น2. ปฏิบัติการ 9 ใบงาน โดย ผศ.ดร.รัฐพงศ์ ปกแก้ว3. นำเสนอผลปฏิบัติการ งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร ให้ข้อเสนอแนะ โดยคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้4. การบรรยาย : การดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น และปัจจัยที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดย วิทยากรจากเทศบาลตำบลทาปลาดุก
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      61
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมแคทลียาควีนสิริกิติ์ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด โดยอาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯโดยกิจกรรม ประกอบด้วย1. การบรรยาย : สรุปแนวทางการดําเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น 6 งาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดย คุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง วิทยากรจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ2. การบรรยายงานที่ 1 งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย และ ผศ.ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร มีเนื้อหาดังนี้    2.1. กําหนดขอบเขตพื้นที่และการสํารวจทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.2. ทําผังแสดงขอบเขตพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.3. ศึกษาทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.4. ทําตัวอย่างทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.5. ทําทะเบียนทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น    2.6. ดูแล รักษา ทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น3. การฝึกปฏิบัติการงานที่ 1 งานปกปักทรัพยากร (การสํารวจทรัพยากร การทําผังแสดงทรัพยากร การศึกษาทรัพยากรในพื้นที่ปกปักทรัพยากร) โดย ผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย และ ผศ.ดร.ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร4. การนําเสนอผลปฏิบัติการงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น ให้ข้อเสนอแนะ โดยคณะวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้5. การสรุปและให้ข้อเสนอแนะ โดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อํานวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 45 ท่าน จาก 14 หน่วยงาน
7 กุมภาพันธ์ 2567     |      84
หน่วยประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดอบรมการสำรวจข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (วันที่ 1 ของการอบรม)
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา หน่วยประสานงาน อพ.สธ. - มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดอบรมการสำรวจข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ประกอบด้วย ทรัพยากรกายภาพ, ทรัพยากรชีวภาพ, ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา นำไปสู่การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี นางสาวสุรีย์ ทาประเสริฐ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่, ว่าที่ ร.ต.ศุภชัย ทานะขันธ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่, นางสาวปาริชาติ หิรัญรัตน์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่, หัวหน้าส่วนราชการ, ผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ครูและนักเรียนโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และประชาชนตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เข้าร่วมโครงการฯ ณ ห้องประชุมลานวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      55
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ต้อนรับและสนับสนุนการฝึกอบรมการวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ หน่วยงานเทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. นำโดยอาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และผศ.ดร.เยาวนิตย์ ธาราฉาย รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ต้อนรับและสนับสนุนการฝึกอบรมการวาดภาพทางพฤกษศาสตร์ให้กับนักเรียน และคุณครูจากโรงเรียนบ้านหนองโค้ง และเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ฐาปกรณ์ เครือระยา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการวาดภาพและถ่ายภาพทางพฤกษศาสตร์ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.-มจ.) ณ ห้อง3 201 ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด จำนวน 45 ท่าน
5 กุมภาพันธ์ 2567     |      298
ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ ดอกเอื้องคำ และผลิตภัณฑ์ดอกเอื้องคำ แก่นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาสื่อสารดิจิทัล
เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ. ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ ดอกเอื้องคำ และผลิตภัณฑ์ดอกเอื้องคำ แก่นักศึกษาคณะสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาสื่อสารดิจิทัล เพื่อนำไปใช้ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิด โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการคิดเชิงสร้างสรรค์ การประยุกต์ใช้ทักษะการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาและการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ณ ห้องเอื้องเสือแผ้ว ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
29 มกราคม 2567     |      99
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ.และหน่วยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมการฝึกอบรมการพัฒนาบุคลากรในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 16-19 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มจ.และหน่วยประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นำโดย อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมการพัฒนาบุคลากรในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดย อ.ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมฯ และได้รับเกียรติจาก ผอ.ศิริลักษณ์ จันทรมานนท์ ที่ปรึกษาศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และคณะ เป็นวิทยากร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำไปใช้ในการเป็นวิทยากร และผู้ดำเนินการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกเครือข่ายฯ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่าง ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน ศูนย์ประสานงาน ซึ่งกระบวนการที่ใช้ในการอบรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยการบรรยายและการปฏิบัติการ การสรุปผลและนำเสนอผลการปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความรอบรู้ เชี่ยวชาญ และถ่ายทอดได้ ณ ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 50 ท่าน
19 มกราคม 2567     |      160
ทั้งหมด 12 หน้า